วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Bandai Official Floor Rule

Official Floor Rule



เปลี่ยนแปลงล่าสุด วันที่ 1 พฤษภาคม 2022

TCG [Battle Spirits]

<Official Tournament> <Battleskii Event>

Floor Rule Ver .1.4



เอกสารฉบับนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อบังคับของ Official Tournament ของเทรดดิ้งการ์ดเกม (หลังจากนี้จะเรียกว่า TCG) การแข่งขัน Battle Spirits จะถูกแบ่งเป็นสองประเภทย่อย คือ Official Tournament และ Battleskii Event ซึ่ง Official Tournament จะเป็นการแข่งขันโดยมีบริษัท Bandai เป็นสปอนเซอร์ และ Battleskii Event จะเป็นการแข่งขันโดยได้รับการอนุมัติจากบริษัท Bandai

ข้อบังคับฉบับนี้จะถูกใช้ใน Official Tournament และ Battleskii Event ทั่วไป หากแต่มีอีเวนท์ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษและมี [Tournament Regulation] เฉพาะที่ขัดแย้งกับข้อบังคับฉบับนี้ ขอให้ยึด [Tournament Regulation] นั้นๆเป็นหลัก

<<Battleskii>> คืออะไร!?

เหล่าเพลเยอร์ต้นแบบใน TCG ที่จะคอยดูแลเหล่ายูสเซอร์ให้เติบโตไปเป็นการ์ดแบทเลอร์ที่ดี เพิ่มเติม พวกเขาเหล่านี้จะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่แต่งตั้งโดยบริษัท Bandai เพื่อมีสิทธิพิเศษในการทำหน้าที่จัดการงานต่างๆตามอีเวนท์
※ Battleskii จำเป็นจะต้องผ่านเงื่อนไขการได้รับการยอมรับให้เป็น [Rulemaster] ด้วย

[สารบัญ]
บทที่ 1 : เกี่ยวกับผู้เข้าร่วมอีเวนท์ทุกท่าน
บทที่ 2 : เกี่ยวกับเพลเยอร์ทุกท่าน
บทที่ 3 : เกี่ยวกับผู้ชมทุกท่าน
บทที่ 4 : เกี่ยวกับจัดจ์
บทที่ 5 : เกี่ยวกับการ์ดที่สามารถใช้ได้
บทที่ 6 : เกี่ยวกับสลีฟ
บทที่ 7 : เกี่ยวกับการจัดอีเวนท์
บทที่ 8 : เกี่ยวกับการจบการแข่งขันและผลแพ้ชนะ
บทที่ 9 : เกี่ยวกับการออกจากงานแข่งกลางคัน
บทที่ 10 : เกี่ยวกับการโกงเพื่อกำหนดผลการแข่งขัน
บทที่ 11 : เกี่ยวกับบทลงโทษ

[Battle Spirits Official Tournament / Battle Ski Event Floor Rule] ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ทุกๆท่านสามารถเข้าร่วมอีเวนท์ต่างๆของ TCG Battle Spirits ได้อย่างสนุกสนาน

ซึ่งการรักษากฏข้อบังคับอย่างเคร่งครัด นอกจากเรื่องผลแพ้-ชนะแล้ว ยังทำให้ทุกๆท่านสามารถสนุกไปกับการแบทเทิลของอีเวนท์ TCG Battle Spirits ได้อีกด้วย

บทที่ 1 : เกี่ยวกับผู้เข้าร่วมอีเวนท์ทุกท่าน
ผู้เข้าร่วมอีเวนท์ TCG Battle Spirits ทุกท่านควรมีความเคารพและการให้เกียรติกันและกัน

บทที่ 2 : เกี่ยวกับเพลเยอร์ทุกท่าน
เพื่อการแข่งขันที่ดีและราบรื่น ผู้เล่นทุกท่านควรเคารพกฏและมารยาทอย่างเคร่งครัดและให้เกียรติฝ่ายตรงข้าม เพื่อการนั้น, การใส่ใจต่อความรู้สึกของอีกฝ่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เนื่องด้วยมารยาทในการแข่งขัน ผู้เล่นทุกๆท่านควรจะใส่ใจในจุดต่างๆ ดังต่อไปนี้

● ทำการทักทายกัน, ก่อนและหลังการแข่งขัน
● ประกาศลำดับขั้นตอนในการเล่นอย่างชัดเจน และตอบคำถามของอีกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา
● ทำการวางการ์ดและสิ่งของต่างๆที่ใช้ในการเล่นให้เป็นระเบียบ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามหรือจัดจ์ (รวมไปถึงสตาฟอื่นๆ) สามารถเข้าใจได้โดยง่าย
● ปฏิบัติต่อการ์ดของฝ่ายตรงข้ามอย่างถนุถนอม นอกจากนี้หากต้องการตรวจสอบการ์ดของฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะที่ตำแหน่งใด) ก็ควรจะได้รับการยินยอมจากเจ้าของก่อน
● หากไม่มีความสามารถใดๆที่อนุญาตให้ทำได้ ก็ห้ามแอบดูมือหรือเด็คของฝ่ายตรงข้ามอย่างเด็ดขาด
● ไม่ควรกระทำการที่ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกไม่สบายใจโดยตั้งใจ (เช่น: ตะโกนเสียงดัง, พูดจาด่าทอฝ่ายตรงข้าม, จงใจเล่นช้า, ฯลฯ)
● หากต้องการลุกออกจากที่นั่งขณะแข่งขัน ต้องได้รับการอนุญาตจากจัดจ์ (หรือสตาฟ) ก่อน
● หากมีจุดที่สงสัยหรือไม่เข้าใจระหว่างการแข่งขัน ขอให้ทำการเรียกจัดจ์ (หรือสตาฟ)

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฏเกิดขึ้นระหว่างการแข่ง ผู้เล่นทุกท่านสามารถเรียกจัดจ์ (หรือสตาฟ) มาเพื่อตรวจสอบและไขข้อข้องใจเกี่ยวกับปัญหานั้นๆได้ ในกรณีนี้ผู้เล่นจำเป็นจะต้องเคารพการตัดสินนั้นๆของจัดจ์ (หรือสตาฟ)

บทที่ 3 : เกี่ยวกับผู้ชมทุกท่าน

ระหว่างชมการแข่งขัน ขอให้ดูในพื้นที่ที่กำหนดไว้ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้เข้าแข่งขันหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแข่งขัน รวมไปถึงรักษามารยาทในการชมด้วย ห้ามมีการพูดลอยๆ, ปรึกษา, แนะนำ, หรือการกระทำใดๆที่มีผลรบกวนการแข่งขัน หากไม่สามารถรักษากฏนี้ไว้ได้ จะถูกเชิญให้ออกจากพื้นที่โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของจัดจ์ (หรือสตาฟ)

บทที่ 4 : เกี่ยวกับจัดจ์

จัดจ์ทุกท่านจะต้องรักษากฏระเบียบอย่างเคร่งครัด และคอยให้ความร่วมมือกับผู้ร่วมงานและเหล่าสตาฟทุกๆท่าน เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างราบรื่นและยุติธรรม
เพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพลเยอร์ จัดจ์ควรมีกริยาที่สุภาพเรียบร้อยเป็นหลักสำคัญ

จัดจ์ทุกๆท่านนั้น เมื่อต้องทำการ [คลี่คลายรูปแบบเกมที่ผิดไปจากกฏ] จำเป็นจะต้องฟังคำอธิบายของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อทำการปรับรูปแบบเกมให้กลับมาเหมาะสมและสามารถดำเนินเกมต่อไปได้ หากแต่เกมดำเนินไปได้ระยะหนึ่งแล้วเพิ่งพบว่ามีการกระทำที่ผิดไปจากกฏก่อนหน้านี้ จะไม่มีการย้อนเกมกลับ และให้ดำเนินเกมต่อไปทั้งๆแบบนั้น

นอกจากนี้ จัดจ์ยังมีหน้าที่ค่อยเฝ้าระวังการเล่นที่ไม่เป็นไปตามกฏ, การโกง หรือพฤติกรรมมีพิรุธที่อาจก่อให้เกิดการโกง จัดจ์สามารถเข้าไปแทรกแซง ให้คำชี้แนะและแก้ไขให้ถูกต้อง

บทที่ 5 : เกี่ยวกับการ์ดที่สามารถใช้ได้

ผู้เล่นจะสามารถใช้ได้เฉพาะการ์ดใน [Tournament Regulation] (การ์ดที่การแข่งนั้นๆกำหนด) เท่านั้น และไม่ว่าจะเป็นงานแข่งประเภทไหน ผู้เล่นก็ไม่สามารถใช้การ์ดที่ทำขึ้นมาแบบไม่ถูกต้อง (การ์ดก็อปปี้, การ์ดตัวแทน, หรือทำขึ้นมาเอง) ในงานแข่งได้

ในส่วนของ Checklist Card หากมีตำหนิสัญลักษณ์ ที่จุดอื่นนอกจากบนช่องที่ให้เช็ค ไม่ว่าด้านหน้า / ด้านข้าง / หรือด้านหลัง ที่สามารถบ่งชี้ / แบ่งแยกการ์ดใบนี้จากใบอื่นๆในเด็คได้ อาจจะถูกบังคับไม่ให้ใช้การ์ดใบนั้นในงานแข่งได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจัดจ์ หากแต่กรณีที่หลังจากทำการใส่สลีฟแล้วไม่สามารถแบ่งแยกการ์ดใบนั้นได้อีก อาจจะมีการอนุโลมให้สามารถใช้การ์ดใบนั้นได้

ในกรณีที่ต้องการใช้การ์ดเทนเซย์ (การ์ดที่มีสองด้าน) หรือ Checklist Card ในตัวเด็ค จะไม่อนุญาตให้ใช้สลีฟแบบโปร่งใส จะต้องเป็นสลีฟลายเดียวกับสลีฟในเด็คเดียวกัน

บทที่ 6 : เกี่ยวกับสลีฟ

ผู้เล่นสามารถใช้สลีฟที่อยู่ในเกณฑ์ที่ทางงานแข่งกำหนดไว้ได้

ในกรณีที่ใช้สลีฟ จำเป็นจำต้องใช้ลายเดียวกันและใส่ไปในทางเดียวกันทั้งเด็ค โดยจำกัดให้ใส่การ์ดได้ 1 ใบต่อสลีฟ 1 ซองเท่านั้น

กรณีที่ต้องการใช้การ์ดเทนเซย์โดยไม่ใช้ Checklist Card จำเป็นจะต้องใส่สลีฟทึบเท่านั้น

กรณีที่ผู้เล่นไม่มีการ์ดเทนเซย์ในเด็ค ผู้เล่นไม่จำเป็นจะต้องใส่สลีฟก็ได้
ในงานแข่ง หากมีการตัดสินจากจัดจ์ให้ผู้เล่นไม่สามารถใช้สลีฟนั้นๆได้ ผู้เล่นจำเป็นจะต้องเปลี่ยนเป็นสลีฟชุดใหม่ที่เหมาะสม หรือในกรณีที่การ์ดไม่มีตำหนิ / จุดแบ่งแยก ก็สามารถเลือกที่จะไม่ใส่สลีฟในการแข่งได้
※ ในงานแข่ง ผู้จัดอาจมีการกำหนดให้ใช้สลีฟที่ถูกเตรียมไว้เป็นพิเศษในการแข่งได้
※ ในงานแข่งอย่างเป็นทางการจะกำหนดให้การ์ด 1 ใบใส่สลีฟทึบแสงและโปร่งแสง รวมกันสองชั้นเท่านั้น ห้ามการใส่สลีฟทับกัน 3 ชั้นขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นด้านในหรือด้านนอก

เมื่อมีการใช้ Checklist Card การ์ดเทนเซย์ที่อยู่ด้านนอกเด็คจะอนุญาตให้ใส่สลีฟโปร่งใสได้

บทที่ 7 : เกี่ยวกับการจัดอีเวนท์

I. เกี่ยวกับการชัฟเฟิล (สับเด็ค)
การสับเด็คคือสับเปลี่ยนลำดับการ์ดในเด็คกลายเป็นการสุ่มจนผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบ่งบอกตำแหน่งของการ์ดแต่ละใบได้ ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละครั้ง เด็คของผู้เล่นแต่ละคนจะต้องถูกสับจนอยู่ในสภาพสุ่มที่เหมาะสม

ในการสับเด็คหากมีการกระทำที่มีพิรุธ อาจถูกพิจารณาถึงบทลงโทษได้

※ เกี่ยวกับบทลงโทษ ให้ดูในส่วนของบทที่ 11

■การสับเด็คของผู้เล่น
ผู้เล่นสามารถสับ หรือตัดเด็คของตนเองให้อยู่ในสภาพสุ่มได้จนพอใจ ทั้งนี้ ผู้เล่นจำเป็นจะต้องทำในตำแหน่งที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และพึงระวังไม่ให้การ์ด หรือสลีฟเป็นรอย หรือแอบมองดูการ์ดจากการกระทำนั้นๆ
หลังจากส่งให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสับหรือตัดเด็คแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถสับเด็คหรือตัดเด็คของตนเองได้อีก

■การสับเด็คของจัดจ์
จัดจ์จะมีสิทธิ์ในการสับเด็คของผู้เล่นได้เมื่อจะในการทำการ [คลี่คลายรูปแบบเกมที่ผิดไปจากกฏ]
หลังจากจัดจ์สับเด็คนั้นๆแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถสับเด็คหรือตัดเด็คของตนเองได้

II. เกี่ยวกับการหมดเวลา
หากการแข่งขันไม่สามารถตัดสินผลแพ้ / ชนะได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละรอบ ให้ยึดหลักการตัดสินผลแพ้/ชนะ ตามลำดับต่อไปนี้
1. ฝ่ายที่มีคอร์ที่ไลฟ์เยอะกว่าจะเป็นผู้ชนะ (กรณีที่มีเท่ากัน, หรือมี 5 เม็ดขึ้นไปทั้งคู่ให้ดูลำดับถัดไป)
2. ฝ่ายที่มีการ์ดในเด็คเหลือเยอะกว่าจะเป็นผู้ชนะ (กรณีที่มีเท่ากันให้ดูลำดับถัดไป)
3. ทำการนับจำนวนการ์ดบนมือ, สนาม, แทรช และเด็ครวมกัน ฝ่ายที่มีเยอะกว่าจะเป็นผู้ชนะ (กรณีที่มีเท่ากันให้ดูลำดับถัดไป)
4. นับจำนวนเม็ดคอร์บนสนาม, รีเซิร์ฟ, แทรช แต่ไม่รวมไลฟ์ เคาท์ แกรนวอร์คเกอร์ และแกรนสโตน ฝ่ายที่มีน้อยกว่าจะเป็นผู้ชนะ (กรณีที่มีเท่ากันให้ดูลำดับถัดไป)
5. ทำการเป่ายิ้งฉุบจนกว่าจะได้ผู้ชนะ 1 ครั้ง และให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้ชนะไป
นอกจากนี้ ในกรณีของอีเวนท์ที่มีการกำหนดเวลาจบไว้ และเมื่อถึงเวลานั้นแล้วยังไม่สามารถตัดสินผลแพ้/ชนะได้ อาจมีโอกาสที่จะต้องข้ามขั้นตอนการหาผู้แพ้/ชนะ และนับว่าเป็นการแข่งที่ไร้ผลและไม่มีผู้ชนะได้

บทที่ 8 : เกี่ยวกับการจบการแข่งขันและผลแพ้ชนะ

การจบการแข่งขันและผลแพ้ชนะนั้นให้อ้างอิงจากข้อกำหนดของการแข่งนั้นๆเป็นหลักสำคัญ หลังจากยื่นใบบันทึกผล หรือหลังจากที่ทางจัดจ์ได้ตรวจสอบผลการแข่งขันเรียบร้อยแล้ว ผลของการแข่งขันรอบนั้นๆจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก

บทที่ 9 : เกี่ยวกับการออกจากงานแข่งกลางคัน

ผู้เล่นที่ต้องการจะออกจากงานแข่งกลางคันนั้นจะต้องได้รับการยินยอมจากจัดจ์ (หรือสตาฟ) เสียก่อน

หลังจากประกาศผลการจับคู่ไปแล้ว ผู้เล่นที่ไม่มาเข้าแข่งตามกำหนดการณ์จะถูกนับว่าออกจากการแข่งขัน และจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันนั้น รวมถึงสิทธิ์ในการรับรางวัลต่างๆในงานแข่งนั้นด้วย

บทที่ 10 : เกี่ยวกับการโกงเพื่อกำหนดผลการแข่งขัน

ไม่ว่าจะเป็นการแข่งประเภทไหน ผู้เล่นก็ไม่สามารถตกลงกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อกำหนดผลการแข่งขันกันเองได้
หากพบว่ามีการกระทำที่มีพิรุธซึ่งก่อให้เกิดการกำหนดผลการแข่งขันก็อาจถูกพิจารณาถึงบทลงโทษได้

※ เกี่ยวกับบทลงโทษ ให้ดูในส่วนของบทที่ 11

บทที่ 11 : เกี่ยวกับบทลงโทษ

หากไม่สามารถรักษาข้อบังคับที่ระบุไว้ใน [Official Tournament / Battleskii Event's Floor Rule], [Manual Rule], หรือ [Tournament Regulation] ได้ อาจมีการพิจารณาบทลงโทษจากทาง <จัดจ์ หรือ Battleskii> ได้
ความรุนแรงของบทลงโทษนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับอีเวนท์หรืองานแข่ง รวมไปถึงความรุนแรงในการทำผิดกฏนั้นๆ ซึ่งจะถูกพิจารณาโดย <จัดจ์ หรือ Battleskii>
นอกจากนี้ หาเคยถูกกำหนดบทลงโทษไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังมีการกระทำใดๆที่ทำให้ถูกพิจารณาบทลงโทษซ้ำอีก อาจถูกพิจารณาถึงบทลงโทษในระดับที่สูงขึ้นได้

ประเภทของบทลงโทษและหลักการตัดสิน

※ กรณี ①~④ ต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ถึงแม้จะมีกรณีที่คล้ายกันเกิดขึ้นในการแข่งขัน ก็อาจได้รับโทษที่ความรุนแรงต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดุลพินิจของ <จัดจ์ หรือ Battleskii> เป็นหลักสำคัญ

① การตักเตือน (Caution)
เป็นบทลงโทษสำหรับใช้ในการแข่งขันรูปแบบหนึ่งให้แก่ผู้เล่นแต่ละคน ระหว่างการแข่งขันหากต้องมีการ [คลี่คลายรูปแบบเกมที่ผิดไปจากกฏ] ซึ่งจัดจ์จะเป็นผู้ทำให้รูปเกมกลับไปในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับที่ควรจะเป็นมากที่สุด แต่หากว่าเกมนั้นๆยากที่จะกลับไปในรูปแบบที่ถูกต้อง ก็อาจมีสิทธิ์ที่จะถูกพิจารณาโทษในระดับนี้

หากได้รับ [การตักเตือน] หลายๆครั้งก็อาจนำไปสู่ [การคาดโทษ (Warning)] ได้
(ตัวอย่าง)

・ เผลอจั่วการ์ดเกินจำนวนที่กำหนดไว้
กรณีนี้ทางจัดจ์จะสุ่มการ์ดที่จั่วมาทั้งหมด และนำการ์ดตามจำนวนที่จั่วเกินกลับเข้าเด็คและสับ

・ ผู้เล่นถาม / ขอคำแนะนำจากผู้ชม

・ การที่ผู้ชมมีการพูดคุยกับผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน หรือมีการกระทำที่สื่อถึงการสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลของการแข่งขัน

② การคาดโทษ (Warning)

เป็นบทลงโทษสำหรับใช้ในการแข่งขันรูปแบบหนึ่งให้แก่ผู้เล่นแต่ละคน ถึงแม้จะเป็นการกระทำที่ไม่ได้รุนแรงถึงระดับนี้ หากแต่ถ้ามีการได้รับ [การตักเตือน] หลายครั้ง ก็อาจถูกพิจารณาโทษในระดับนี้ได้ และหากได้รับ [การคาดโทษ] หลายๆครั้งก็อาจนำไปสู่ [การปรับแพ้] หรือ [การตัดสิทธิ์] ได้
(ตัวอย่าง)

・ ตั้งใจเล่นช้า เพื่อดึงเกมให้ไม่สามารถตัดสินผลแพ้ชนะได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากจัดจ์ได้รับการรายงานจากผู้เล่นฝั่งตรงข้าม จะมีการพิจารณาจากระยะเวลาที่ใช้ในการเล่นจริง

・ การบอกข้อมูลที่ผิดให้ฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ได้ตั้งใจ

・ การจงใจยั่วยุ ด่าทอฝ่ายตรงข้าม

③ การปรับแพ้ (Game Loss)

เป็นบทลงโทษที่มอบให้ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฏอย่างชัดเจน หรือการฝ่าฝืนกฏจนทำให้ไม่สามารถดำเนินเกมต่อไปได้อีก
หากได้รับ [การปรับแพ้] เกมนั้นๆจะจบลงทันที
ผู้ที่จะมอบ [การปรับแพ้] ได้นั้นมีเพียงผู้จัดงาน และจัดจ์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้จัดงานเท่านั้น

(ตัวอย่าง)

・ การจัดเด็คที่ไม่ตรงตามเงื่อนไข (จำนวนการ์ดในเด็คน้อยกว่า40ใบ, ใส่การ์ดชื่อซ้ำกันเกิน 3 ใบ)

・ การใช้การ์ดหรือสลีฟที่ขัดกับ Tournament Regulation

・ การสับเปลี่ยนลำดับการ์ดในเด็ค ในจังหวะที่ไม่มีการอนุญาตให้ทำได้

④ การตัดสิทธิ์ (Disqualification)

เป็นบทลงโทษที่มอบให้ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎอย่างรุนแรงมากๆ การกระทำที่ก่อความเสียหายแก่อีเวนท์โดยรวม การไร้น้ำใจนักกีฬาขั้นร้ายแรง
หากผู้เล่นได้รับ [การตัดสิทธิ์] ผู้เล่นคนนั้นจะแพ้ในการแข่งนั้นๆทันที และไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในรอบต่อๆไปได้อีก รวมถึงถูกริบสิทธิ์ในของรางวัลต่างๆอีกด้วย

[การตัดสิทธิ์] ยังสามารถมอบให้ผู้ชมโดยรอบได้ด้วย ในกรณีนั้นผู้ชมท่านนั้นจะถูกเชิญออกจากบริเวณงานแข่งโดยทันที

(ตัวอย่าง)

・ การพูดคุยตกลงกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อกำหนดผลการแข่งขันกันเอง ในกรณีนี้ทั้งสองฝ่ายจะได้รับ [การตัดสิทธิ์] ทั้งคู่

・ การเล่นการพนัน, ค้าขาย, หรือลักขโมยสิ่งของในอีเวนท์

・ การแอบมองเด็ค, การ์ดบนมือฝ่ายตรงข้าม หรือข้อมูลใดๆที่ตนเองไม่ได้รับอนุญาตให้ทำโดยเจตนา

・ การหยิบคอร์ หรือการ์ดใดๆในจำนวนมากกว่าปกติโดยเจตนา


※ใน Official Tournament จะมี [การห้ามลงแข่ง (Suspension)] ร่วมด้วยนอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น